สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA)ได้ประกาศใช้กฎกติกาใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2016 เพื่อนำไปปฏิบัติเพื่อใช้ในการแข่งขัน ทั้งนี้มีข้อมูลที่จำเป็นสำหรับแฟนบอล และต้องทราบเพื่อเป็นปีระโยชน์ในการชมฟุตบอลอย่างสนุกอีกด้วย
กฎข้อ1. สนาม
– สนามระบบ ไฮบริด สามารถนำมาใช้ได้นั่นคือการนำเอาหญ้าเทียมและหญ้าจริงมาใช้ในสนามเดียวกันสามารถทำได้ เช่นในสนามเป็นหญ้าจริงส่วนด้านข้างสนามเป็นหญ้าเทียมสามารถใช้หญ้าเทียมได้ แต่จะนำไปผสมกันในสนามไม่ได้
– ป้ายสนามแข่งขันมีการกำหนดให้ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 1 เมตร
– โลโก้สโมสรสามารถนำมาติดบนใบธง(เตะมุม)ได้ ยกเว้นสปอนเซอร์
กฎข้อ3. ผู้เล่น
– เรื่องการเปลี่ยนตัว เมื่อก่อนผู้เล่นจะเปลี่ยนตัวสมบูรณได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นเข้าสนามสมบูรณ์แล้ว กฎใหม่จะมีการขยายความเรื่องนี้คือ ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวเข้าไปในสนามต้องก้าวเข้าไปในสนาม 1 สเต๊ปจึงจะเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนตัวที่สมบูรณ์
– ปกติแล้วผู้ตัดสินจะให้ใบเหลือง ใบแดงต่อผู้เล่นได้ก็ต่อเมื่อ เริ่มเกมและจบเกมเท่านั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์นอกเหนือจากนี้ให้เขียนรายงาน ซึ่งอำนาจของผู้ตัดสินเริ่มตั้งแต่ในอุโมงค์ แต่กฎใหม่ผู้ตัดสินสามารถแจกใบแดงให้แก่ผู้เล่นได้เลยตั้งแต่ผู้ตัดสินเริ่มตรวจสนาม และหากผู้เล่นคนนั้นโดนใบแดงผู้เล่นคนนั้นจะไม่สามารถส่งรายชื่อลงแข่งขันได้ ยกตัวอย่างเช่น นาย A โดนใบแดงตั้งแต่ตอนตรวจสนาม นาย A จะไม่สามารถมีส่วนร่วมในเกมนั้นได้ หากมีการส่งรายชื่อไปแล้วระหว่างวอร์มอัพ หากมีเหตุการณ์ผู้เล่นกระทำบางสิ่งบางอย่าง แล้วโดนใบแดงไล่ออกจากสนาม หากนักเตะคนนั้นเป็น 11 คนแรก ก็จะสามารถเอารายชื่อนักเตะสำรองขยับมาลงสนามเป็นตัวจริงได้แทน โดยที่ไม่เสียโควต้าในการเปลี่ยนตัว ในเกมยังสามารถเปลี่ยนตัวได้ 3 คนเช่นเดิม
กฎข้อ4. อุปกรณ์ของผู้เล่น
– เทปพันถุงเท้าต้องเป็นสีเดียวกับถุงเท้า ยกตัวอย่างถุงเท้าของเซลติก (ถุงเท้าลายเขียว-ขาว) ถ้าจะพันเทปต้องพันสีสลับตามลายถุงเท้า ถ้าเทปขาวก็ต้องพันส่วนถุงเท้าขาว ถ้าเทปเขียวก็ต้องพันส่วนถุงเท้าเขียว
– กางเกงรัดกล้ามเนื้อ เมื่อก่อนบอกว่ากางเกงรัดกล้ามเนื้อต้องเป็นสีหลักกับกางเกงเท่านั้น ปัจจุบันเพิ่มขอบกางเกง ยกตัวอย่างกางเกงของแมนฯซิตี้ กางเกงเขียวขอบดำ ผู้เล่นสามารถใส่สีอะไรก็ได้ไม่เขียวก็ดำ แต่ทั้งทีมต้องใส่สีเดียวกัน
– หากรองเท้าหลุด(โดยอุบัติเหตุ) เมื่อก่อนผู้เล่นจะไม่สามารถสัมผัสบอลได้เลย หากสัมผัสจะโดนโทษโดยอ้อม แต่ปัจจุบันบอกว่าหากรองเท้าหลุด (โดยอุบัติเหตุ) ผู้เล่นยังสามารถสัมผัสบอลได้ยังสามารถเลี้ยงต่อไปได้ แต่เมื่อบอลออกจากตัวเมื่อไร (ส่งหรือยิงบอลไปแล้ว) คุณจะไม่สามารถเล่นบอลได้อีก จนกว่าคุณจะแก้ไขรองเท้าของคุณแล้วหรือบอลอยู่นอกการเล่น และหากคุณไม่แก้ไขและบอกกลับมาถึงตัวคุณ ก็จะโดนโทษโดยอ้อม
– การออกมาเปลี่ยนอุปกรณ์ของผู้เล่นเช่นเสื้อขาด รองเท้าขาด ทีมงานผู้ตัดสินสามารถส่งผู้ตัดสินลงสนามได้เลยโดยไม่ต้องรอผู้ตัดสินในสนามหรือรอลูกออก ทีมงานผู้ตัดสินสามารถส่งลงสนามได้เลย
กฎข้อ5. ผู้ตัดสิน
– ความผิดของผู้เล่นที่เกิดขึ้นพร้อมกันเวลาเดียวกัน ผู้ตัดสินจะเป่าฟาวล์คนที่ทำความผิดหนักกว่า
– การปฐมพยาบาล เมื่อก่อนจะมีกรณีเดียวที่สามารถปฐมพยาบาลในสนามได้คือ ผู้รักษาประตูเจ็บ แต่ปัจจุบันเพิ่มอีกกรณีคือ หากคนกระทำฟาวล์ถูกลงโทษโดนใบเหลืองหรือแดงและมีผู้เล่นบาดเจ็บ ผู้เล่นที่บาดเจ็บสามารถปฐมพยาบาลในสนามได้ (อย่างรวดเร็วและเหมาะสม)
กฎข้อ6. ผู้ช่วยผู้ตัดสิน
– ปัจจุบันใช้คำว่า “Match Officials” ซึ่งรวมถึงผู้ช่วยผู้ตัดสิน , ผู้ตัดสินที่ 4 , ผู้ตัดสินหลังประตู , ผู้ตัดสินที่ 5
กฎข้อ8. การเริ่มและการเริ่มเล่นอีกครั้ง
– การเริ่มเล่นทุกครั้งจะ บอลจะต้องเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B (Clearly Move)
– การดรอปบอล ผู้ตัดสินไม่สามารถบอกให้ใครเข้ามาเล่นแล้วส่งคืน ผู้ตัดสินต้องดรอปเลย แต่ผู้ตัดสินต้องบอกผู้เล่นอย่างชัดเจน
– การเขี่ยบอล จะเขี่ยไปทางไหนก็ได้
กฎข้อ9. บอลในหรือนอกการเล่น
– ถ้าหากว่าบอลสัมผัสผู้ตัดสิน , ผู้ช่วยผู้ตัดสิน , ผู้ตัดสินหลังประตู หากสัมผัสโดนยังถือว่าบอลนั้นยังอยู่ในการเล่น (บอลยังไม่อยู่นอกสนาม)
กฎข้อ10. การหาผลแพ้ชนะ
– การเตะจุดโทษเพื่อหาผลแพ้ชนะ เมื่อก่อนเสี่ยงเหรียญครั้งเดียวเพื่อเลือกว่าจะยิงก่อนหรือเซฟก่อน แต่ปัจจุบันจะเสี่ยงสองครั้ง ครั้งแรกเสี่ยงเพื่อเลือกข้างที่จะยิง (ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์เลือกเอง) ครั้งที่สองเสี่ยงว่าจะเลือกยิงก่อนหรือเซฟก่อน
– เพิ่มความละเอียดจากข้อที่ว่า ผู้ที่มีสิทธิ์ยิงจุดโทษคือผู้ที่อยู่ในสนามเท่านั้น แต่ปัจจุบันเขียนใหม่ให้ชัดเจนสำหรับผู้เล่นที่ออกไปปฐมพยาลข้างสนามตอนจบเกมยังมีสิทธิ์ยิงอยู่
– สำหรับการยิงจุดโทษเพื่อหาผลแพ้ชนะมีการเพิ่มคำว่า ผู้รักษาประตูสามารถเปลี่ยนได้ทุกเมื่อ (ว่าง่ายๆคือจะเอาใครมาเปลี่ยนเป็นคนเซฟจุดโทษก็ได้ แต่คนๆนั้นต้องเป็นคนที่อยู่ในสนาม)
กฎข้อ11. ล้ำหน้า
– ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าแล้ววิ่งย้อนกลับลงมาเล่นบอลในแดนตัวเอง เมื่อก่อนให้เป็นล้ำหน้า ณ เส้นแบ่งแดน แต่ปัจจุบันให้เริ่มเล่นตรงตำแหน่งที่ผู้เล่นย้อนกลับลงไปเล่น(สัมผัสบอล)เลย
– ผู้เล่นที่หลุดออกไปหลังเส้นข้างจากการเล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของการเล่น ถ้าหากผู้เล่นหลุดออกเส้นหลัง ให้คิดว่าผู้เล่นคนนั้นอยู่บนเส้นออกหลังซึ่งการพิจารณาเรื่องนี้จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อบอลถูกเตะออกนอกเขตโทษพุ่งหาเส้นแบ่งแดน
กฎข้อ12. ฟาวล์
– กติกาบอกว่าการถ้ามีการสัมผัสตัวจะเป็นโทษโดยตรงอย่างเดียว
– กรณีปล่อยได้เปรียบแล้วเป็นใบแดง ผู้ตัดสินสามารถปล่อยได้เปรียบได้ สามารถหยุดเกมให้ใบแดงได้ ถ้าหากผู้เล่นคนนั้นมีส่วนกับการเล่นในจังหวะต่อไป แล้วเป่าให้เป็นจุดโทษโดยอ้อม
– การใช้แขนกระทำฟาวล์ โดยที่ไม่ได้เกิดจากการแย่งชิงลูกบอล (ยืนอยู่เฉยๆ มือไปพาดบนคอขึ้นไป) โดนใบแดงทุกกรณี
– การฟาวล์นอกเส้นข้าง ให้เริ่มเล่น ณ เส้นข้างใกล้จุดเกิดเหตุ และในความหมายเดียวกันถ้าหากหลุดออกนอกเส้นหลังซึ่งอยู่ในระยะกรอบเขตโทษ จะกลายเป็นจุดโทษทันที (ลงโทษผู้เล่นตามการกระทำ)
– DOGSO “denying an obvious goal-scoring opportunity”แปลเป็นไทยก็คือ การป้องกันโอกาสในการเป็นประตูชัดๆ ข้อนี้มีการเปลี่ยนแปลงกฎซึ่งปัจจุบันนี้สับสนและเข้าใจผิดกันมากเพราะมีคนแปลความหมายไปผิด จริงๆแล้วข้อที่เปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้ครับ ถ้าหากว่ามีการหลุดเดี่ยวในเขตโทษแล้วมีการฟาวล์เมื่อก่อนคือเป่าเป็นจุดโทษแล้วให้ใบแดง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยน ถ้าหากผู้เล่นคนนั้นมีโอกาสในการเข้าไปแย่งลูกแต่พลาดกลายเป็นทำฟาวล์คู่ต่อสู้ ในเคสนี้จะลดเหลือใบเหลืองและเป็นจุดโทษ แต่ถ้าเกิดจากการดึง ผลัก (กระทำฟาวล์โดยใช้มือทั้งหลาย) ยังคงเป็นใบแดงและจุดโทษ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ : ธีรยุทธ บัญหนองสา